ธงรัชกาลที่10 ธงประจำพระองค์ ธง ว.ป.ร. ธง ร.10 ผ้าต่วน
แบบหนา ธงเบอร์ 8 ขนาด 80X120 ซม.(2 ผืน/แพ็ค)
การใช้ ๙ ราชาศัพท์ให้ถูกต้อง
เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา “ในหลวง ร.๑๐”
มีดังนี้
๑.การขานพระนาม
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (สม-เด็ด-พระ-เจ้า-อยู่-หัว-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-บอ-ดิน-ทระ-เทบ-พะ-ยะ-วะ-ราง-กูน)
๒.ต้องใช้ “เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา” ไม่ใช่ “เนื่องในวโรกาส…” คำว่า วโรกาส ใช้ต่อเมื่อ ขอโอกาส แล้วได้รับโอกาส เช่น “พระราชทานพระราชวโรกาส”
๓.ต้องใช้ “พระชนมพรรษา….พรรษา” (พระ-ชน-มะ-พัน-สา) ไม่ใช่ “พระชนมายุ….พรรษา” คำที่ถูกต้อง เช่น “ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน”
๔.ต้องใช้คำว่า “ถวายพระพรชัยมงคล” ไม่ใช่ “ถวายพระพร” เพราะคำว่า “ถวายพระพร” เป็นคำที่พระสงฆ์ใช้กับพระราชวงศ์ ฉะนั้นสามัญชนต้องใช้ว่า “ถวายพระพรชัยมงคล” เว้นแต่การลงนาม จึงใช้ว่า “ลงนามถวายพระพร”
๕.คำลงท้ายเมื่อถวายพระพรชัยมงคลใช้ว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” เพียงเท่านี้ ระหว่างนี้ เห็นหลายหน่วยงานขึ้นคัตเอ้าต์ ถวายพระพรชัยมงคล โดยลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ” ซึ่งเป็นการใช้ผิด เพราะ จะเติม “ขอเดชะ” ต่อเมื่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษกแล้ว และเมื่อนั้นจะใช้คำว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๖.ต้องใช้คำว่า “แสดงความจงรักภักดี” อย่าใช้ผิดเป็น “ถวายความจงรักภักดี” การใช้คำว่า “ถวายความจงรักภักดี” เป็นการใช้คำผิด ที่ถูกต้องใช้คำว่า “เพื่อแสดงความจงรักภักดี” หรือ “เพื่อแสดงพลังความจงรักภักดี” ควรทราบว่า “ความจงรักภักดี” จะนำมาถวายกันไม่ได้ หรือ ยกให้กันไม่ได้ เพราะเป็นคุณลักษณะส่วนบุคคล เป็นนามธรรม
๗.ภาพถ่ายยังใช้ราชาศัพท์ว่า “พระฉายาลักษณ์” จนกว่าจะประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จึงใช้คำว่า “พระบรมฉายาลักษณ์”
๘.ใช้คำว่า “จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล” ไม่ใช่ “จุดเทียนชัย” ในปีนี้ รัฐบาลประกาศเชิญประชาชนทั่วประเทศ ทุกหมู่เหล่า ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล โดยพร้อมเพรียงกันในวันที่ ๒๘ ก.ค. ๖๑ เวลา ๑๙:๐๐ น. แต่พบว่ามีการประชาสัมพันธ์ โดยใช้คำว่า “จุดเทียนชัย” “จุดเทียนชัยถวายพระพร” หรือ “จุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคล” ซึ่งผิดทั้งสิ้น ย้ำอีกครั้ง คำที่ถูกต้อง คือ “จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล”
๙.“สวมเสื้อสีเหลืองเฉลิมพระเกียรติ” ไม่ใช่ “สวมเสื้อสีเหลืองเทิดพระเกียรติ” การทำสิ่งใด กิจกรรมใดเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสอันสำคัญ เพื่อพระองค์ท่าน ต้องใช้คำว่า “เฉลิมพระเกียรติ” เว้นแต่ จัดกิจกรรม เพื่อเทิดทูนในพระอัจฉริยะภาพในด้านใดด้านหนึ่งจึงใช้คำว่า เทิดพระเกียรติ