วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การใช้ ๙ ราชาศัพท์ให้ถูกต้องเฉลิมพระชนมพรรษา “ในหลวง ร.๑๐”!!!




ธงรัชกาลที่10 ธงประจำพระองค์ ธง ว.ป.ร. ธง ร.10 ผ้าต่วน 

แบบหนา ธงเบอร์ 8 ขนาด 80X120 ซม.(2 ผืน/แพ็ค)


การใช้ ๙ ราชาศัพท์ให้ถูกต้อง
เนื่องในโอกาสมหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา “ในหลวง ร.๑๐”
มีดังนี้

๑.การขานพระนาม
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (สม-เด็ด-พระ-เจ้า-อยู่-หัว-มะ-หา-วะ-ชิ-รา-ลง-กอน-บอ-ดิน-ทระ-เทบ-พะ-ยะ-วะ-ราง-กูน)

๒.ต้องใช้ “เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา” ไม่ใช่ “เนื่องในวโรกาส…” คำว่า วโรกาส ใช้ต่อเมื่อ ขอโอกาส แล้วได้รับโอกาส เช่น “พระราชทานพระราชวโรกาส”

๓.ต้องใช้ “พระชนมพรรษา….พรรษา” (พระ-ชน-มะ-พัน-สา) ไม่ใช่ “พระชนมายุ….พรรษา” คำที่ถูกต้อง เช่น “ขอพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน”

๔.ต้องใช้คำว่า “ถวายพระพรชัยมงคล” ไม่ใช่ “ถวายพระพร” เพราะคำว่า “ถวายพระพร” เป็นคำที่พระสงฆ์ใช้กับพระราชวงศ์ ฉะนั้นสามัญชนต้องใช้ว่า “ถวายพระพรชัยมงคล” เว้นแต่การลงนาม จึงใช้ว่า “ลงนามถวายพระพร”

๕.คำลงท้ายเมื่อถวายพระพรชัยมงคลใช้ว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม” เพียงเท่านี้ ระหว่างนี้ เห็นหลายหน่วยงานขึ้นคัตเอ้าต์ ถวายพระพรชัยมงคล โดยลงท้ายว่า “ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ” ซึ่งเป็นการใช้ผิด เพราะ จะเติม “ขอเดชะ” ต่อเมื่อ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษกแล้ว และเมื่อนั้นจะใช้คำว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๖.ต้องใช้คำว่า “แสดงความจงรักภักดี” อย่าใช้ผิดเป็น “ถวายความจงรักภักดี” การใช้คำว่า “ถวายความจงรักภักดี” เป็นการใช้คำผิด ที่ถูกต้องใช้คำว่า “เพื่อแสดงความจงรักภักดี” หรือ “เพื่อแสดงพลังความจงรักภักดี” ควรทราบว่า “ความจงรักภักดี” จะนำมาถวายกันไม่ได้ หรือ ยกให้กันไม่ได้ เพราะเป็นคุณลักษณะส่วนบุคคล เป็นนามธรรม

๗.ภาพถ่ายยังใช้ราชาศัพท์ว่า “พระฉายาลักษณ์” จนกว่าจะประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จึงใช้คำว่า “พระบรมฉายาลักษณ์”

๘.ใช้คำว่า “จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล” ไม่ใช่ “จุดเทียนชัย” ในปีนี้ รัฐบาลประกาศเชิญประชาชนทั่วประเทศ ทุกหมู่เหล่า ร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะและจุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล โดยพร้อมเพรียงกันในวันที่ ๒๘ ก.ค. ๖๑ เวลา ๑๙:๐๐ น. แต่พบว่ามีการประชาสัมพันธ์ โดยใช้คำว่า “จุดเทียนชัย” “จุดเทียนชัยถวายพระพร” หรือ “จุดเทียนชัยถวายพระพรชัยมงคล” ซึ่งผิดทั้งสิ้น ย้ำอีกครั้ง คำที่ถูกต้อง คือ “จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล”

๙.“สวมเสื้อสีเหลืองเฉลิมพระเกียรติ” ไม่ใช่ “สวมเสื้อสีเหลืองเทิดพระเกียรติ” การทำสิ่งใด กิจกรรมใดเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสอันสำคัญ เพื่อพระองค์ท่าน ต้องใช้คำว่า “เฉลิมพระเกียรติ” เว้นแต่ จัดกิจกรรม เพื่อเทิดทูนในพระอัจฉริยะภาพในด้านใดด้านหนึ่งจึงใช้คำว่า เทิดพระเกียรติ


วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

รู้มั้ยว่า ลา มันเป็นเหลนของค้างคาว เพราะอะไร!!!






เจ้ารู้มั้ย ลา มันเป็นเหลนของค้างคาว เพราะ
ค้างคาว"แม่ไก่"
ไก่แก่ "แม่ปลาช่อน"
ปลาช่อน "แม่ลา"
ตะแล้ม ตะแล้ม ตะแล้ม 555

-----------------------------------------------------------------------------
Sponsored


Khaolaor ขาวละออ ตรีผลา แคปซูล ลดไขมันปกป้องเซลล์ตับ ปรับสมดุลเพิ่มภูมิต้านทาน 100 แคปซูล ในหนึ่งแคปซูล 450 มิลลิกรัม ราคาเพียง 210 บาท 
มีส่วนผสมของเนื้อในลูกสอมไทยแห้ง เนื้อในลูกสมอพิเภกแห้ง เนื้อในลูกมะขามป้อมแห้ง ในอัตราส่วนเท่ากัน
ช่วยลดไขมันในเลือด ปรับสมดุลร่างกายเพิ่มภูมิต้านทาน
ปกป้องตับจากแอลกอฮอล์ ต้านมะเร็ง ขับเสมหะ และเป็นยาระบายอ่อนๆ

KHAOLAOR ขาวละออ อาหารเสริม พลูคาวสกัด ผสมเบต้ากลูแคนและวิตามินซี สะเก็ดเงิน เพิ่มภูมิต้านมะเร็ง โดย ขาวละออ (60 เม็ด)
เลขที่ อย.11-1-08831-1-0096
ใน 1 เม็ดประกอบด้วย
พลูคาวสกัดเข้มข้น 4 เท่า 300 mg.(เทียบเท่าพลูคาวแห้ง 1,200 mg.)
เบต้ากลูแคน จากยีสต์ 50 mg.
กรดแอล-แอสคอร์บิก(อนุพันธ์วิตตามินซี) 30 mg.
รับประทานครั้งล่ะ 1 เม็ด ก่อนอาหาร เช้าและเย็น
ขนาดบรรจุ 60 เม็ด/กล่อง ราคาพิเศษ 350 บาท... สั่งซื้อ!!!

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ความแตกต่างระหว่าง สีโอรส สีโอโรส โอลด์โรส Old rose

วันนี้นั่งศึกษาความหมายเฉดสีที่จะใช้ทำงานเจอบทความเกี่ยวกับ " สีโอรส " เป็นทับศัพท์มาจากคำ "โอลด์โรส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า old rose. 

rose ในที่นี้หมายถึง กุหลาบสีชมพู 
กุหลาบสีชมพูที่บานมาหลายวันแล้วก็จะมีสีคล้ำขึ้นเป็นสีชมพูคล้ำ ภาษาอังกฤษเรียกว่า old rose 
แต่ตามความคิดของคนไทย สีโอลด์โรสเป็นสีชมพูอมส้ม 
บางคนเรียกสีนี้ว่า สีโอโรส คำว่า โอโรส 
ในที่นี้ก็คือโอลด์โรส ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ในภาษาอังกฤษนั่นเอง เช่น สีโอลด์โรสนี้เหมาะกับเธอดี ทำให้ดูงามผ่อง. ดอกเยอร์บีราสีโอลด์โรสดอกนี้สวยเหลือเกิน.
คำว่า โอลด์โรส ถ้าเป็นคำไทยจะใช้ว่า สีชมพูอมส้ม
ที่มา : บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
ขอบคุณ FB Odd Rojvanich

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2561

มรรค, มรรค-, มรรคา อ่านต่างกันอย่างไร

 ความหมายของคำว่า ' มรรค, มรรค-, มรรคา '

มรรค, มรรค-, มรรคา  หมายถึง [มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนาเป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคอรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรคเรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).

มรรค อ่านว่า มัก เช่น 

มรรคผล (ปาก) น. ผล, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่เป็นมรรคผล ไม่ได้มรรคผลอะไร.

มรรค- อ่านว่า มักคะ- เช่น 

มรรคนายก [มักคะนายก] น. 'ผู้นําทาง' คือ ผู้จัดการทางกุศล หรือ ผู้ชี้แจงทางบุญทางกุศลและป่าวประกาศให้ประชาชนมาทำบุญทำกุศลในวัด. (ส. มารฺค + นายก).

มรรคา อ่านว่า มันคา

ข้อมูลจาก ThaiDict.com


แปลได้เก่งมาผิดหมดทุกข้อเลย

ไปดูกันว่าแปลอย่างไรให้ผิดหมด


Cr. http://englishbydad.blogspot.com/2018/06/blog-post.html

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แบบง่ายๆ นิพพานก็แค่เอื้อม!!!

ทำคนตกปลาถึงขึ้นสวรรค์ คนฟังธรรมตกนรก!!!


วันนี้ก็ได้ไปทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม ที่วัดเมืองมาง


มาดูกันว่า 5 สิ่งที่ พระพุทธเจ้าทรงสอนคือ อะไร...........






ทำไมคนตกปลาขึ้นสวรรค์
คนไปฟังธรรมถึงตกนรก!

วันหนึ่งมีคนหนึ่งไปฟังธรรมนั่งอยู่ในศาลา
ในขณะที่ข้างศาลานั้นมีคนตกปลา

ตาและจิตของคนที่ไปฟังธรรมแทนที่จะปล่อยวาง
เอาจิตจดจ่อในพระธรรมในเสียงเทศนา

แต่กลับเพ่งโทษคนตกปลา
คนอะไรบาปหนักหนา เลวระยำมาตกปลาข้างวัด
ทำไมไม่ไปทำมาหากินที่ดีกว่านี้
ทำไมมาฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ในขณะที่ตนมาสร้างบุญ

ง่ายๆ ก็คือ เลวมาก จิตด่าทอตลอดเวลา
ยกตนเหนือคนตกปลา

ในขณะที่คนตกปลา ตามองเห็นคนมาฟังธรรม
จิตก็น้อมลงขออนุโมทนาด้วยนะครับ
ผมมันคนบาปช้า ไม่มีโอกาสสร้างบุญด้วยตนเอง
ต้องมาหาปลา เพื่อไปทำอาหารให้พ่อแม่ที่เจ็บป่วย

เพราะจนทำให้ต้องมาทำแบบนี้
ชาติหน้าฉันใด ขอได้มีโอกาสสร้างบุญ
แบบพวกท่านผู้ประเสริฐเถิด

ชาตินี้มีกรรมหนักหนาขอชดใช้เวรกรรม สร้างบุญที่พอทำได้
ปลาที่ถึงฆาตขอให้มาติดเบ็ด
ขออย่าจองเวรซึ่งกันและกันเลย

จิตของคนตกปลามีแต่พร่ำสาธุ สาธุ สาธุกับคนฟังธรรม
และขออโหสิกรรมปลาที่มาติดเบ็ด

เรื่องนี้คงบอกอะไรได้หลายอย่าง

คนที่สร้างบุญนั้นควรมีเมตตา มีกรุณา มีมุทิตา มีอุเบกขา
ต่อคน ต่อสรรพสตว์ทั้งหลาย 
พรหมวิหาร 4 นี้จะยิ่งส่ง ยิ่งหนุนนำชีวิตตน

คนที่ปฏิบัติธรรมนั้น เพื่อพัฒนาจิตตนให้สูงขึ้น
แต่ไม่ได้หมายความว่า มีหน้าที่จะไปยกตนข่มท่าน
ไปด่าคนที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมเหมือนตน

ต่อให้รู้พระธรรมทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์
สวดมนต์ได้ทุกบท
แต่ถ้าไม่ปฏิบัติ เท่ากับ 0

มีมากมายอยู่วัดนุ่งขาวห่มขาว 5 วัน 15วัน
กลับออกมานึกว่า เป็นเทวดาแล้ว
เห็นใครทำอะไร ผิดไปหมด 

เราต้องวางใจในกฏแห่งกรรม
ให้กรรมนั้นเป็นผู้ตัดสิน

แม้แต่ตัวเราเอง ยังมีโอกาสพลาด
มีโอกาสทำผิด ยังมีโอกาสทำบาปมากมายมหาศาล


โอกาสสอบตกตลอดเวลา จนกว่าจะถึงพระนิพพาน
ซึ่ง....ไกลมาก

พึงดูจิตภายใน อย่าส่งจิตออกภายนอกเถิด

ขอให้พิจารณาด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยภูมิธรรม
ขอบุญรักษา

ปิดท้ายด้วย Mind Maps ว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค



หวังว่าคงอิ่มหน่ำสำราญกับธรรมะง่ายๆ สบายๆ กันพอสมควร น่ะครับ แต่ขอแนะนำ หนังสือธรรมดีๆ อีก 2 ชุด..

1 Book Time หนังสือธรรม ชุด สุขกับปัจจุบัน 3 เล่ม ว่า สงบเย็น สุขแท้ ผลของจิตตภาวนาคือนิพพาน....อ่านต่อ หรือ สั่งซื้อเลย!!!

2. หัวใจของหนังสือเล่มนี้ คือ การปลุกจิตสำนึกให้ก้าวไปสู่การตื่นรู้ โดยเริ่มตั้งแต่การทำสมาธิในเบื้องต้น สมาธิในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ในทุกขณะของชีวิตดำเนินไปอย่างมีสติ เพื่อให้สมาธินั้นฝังรากลึกลงไปในสัญชาตญาณ จนกระทั่งย่างก้าวเข้าสู่สมาธิในแบบของพระพุทธเจ้า สมาธิที่จะนำไปสู่แสงสว่างแห่งปัญญา 

หนังสือเล่มนี้ เป็นหนึ่งในซีรี่ส์ ‘ธรรมะหลวงพ่อพุธ’ อันประกอบด้วย สะอาด สงบ สว่าง สดใส
....อ่านต่อ หรือ สั่งซื้อเลย!!!

เสริมสติปัญญาด้วยการสวดมนต์กันเถอะ!!!

Clean up จิต ด้วยการสวดมนต์กันเถอะ





มาเปลี่ยน Mode ให้ร่างกายและ จิตใจ กดปุ่มชีวิตไปที่ ปุ่มที่เรียกว่า Clean up จิต แบบสบายๆ ขอแค่ในหนึ่งวัน สัก 5 นาที นั่งลงด้วยท่าสบายๆ ที่ๆสบายๆ ด้วยจิตที่สบายๆ ชิลๆ ปราศจากข่าวสารขยะ เสียงขยะๆ เพื่อมาฟังเสียงสวดมนต์ เป็นการสะกดจิตตัวเองให้ดื่มดำ่กับเสียงดีๆ คลื่นเสียงดีๆ ซึ่งจำเป็นมากๆ สำหรับชีวิตปัจจุบันที่มากมายด้วยข่าวสารด้านร้ายๆ เป็นการสะกดจิตด้านร้าย เราควรที่ทำการ Diagnose จิคใจใหม่ ทุกวัน เหมือนการอาบน้ำให้จิตใจ ท่านจะพบว่า ร่างกาย ปลอดโปร่ง จิตใจปลอดโปร่ง พร้อมที่จะลงสนามชีวิตใหม่ พร้อมที่สู้ชีวิตที่แบบ มีชีวิตที่พร้อม สู้ ลุย ถ้าวันนี้ สู้ได้ เดินหน้าต่อไป วันหน้า ก็ดูแลตัวของมันเอง

สั่งซื้อเลย !!!  

DIY กล่องสวดมนต์เพิ่มสุข บทเพลงสวดมนต์

  • 1 มีบทสวด ทั้งหมด6บทสวด
  • 2. ทุกบทสวดได้สวดโดยพระภิษุสงค์
  • 3. ปรับระดับเสียงและเลือกบทสวดได้
  • 4. เมื่อฟังครบทั้ง6บทสวด เครื่องจะกลับมาที่บทสวดแรก
  • 5. เหมาะกับการเป็นของขวัญของฝาก
สะสมบุญด้วยกล่องสวดมนต์เสริมบุญ-บารมี

กล่องสวดมนต์ สีแดง

1. มีบทสวด ทั้งหมด 6 บทสวด

- บทบูชาพระรัตนตรัย

- บทกราบพระรัตนตรัย

- บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย

- บทพระพุทธชัยมงคลคาถา

- บทคาถาแองกันภัย10ทิศ

- บทคาถาชินบัญชร

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

พันธ์ พันธุ์ พรรณ ...อัยยะ ใช้ต่างกันอย่างไร

พรรณ พันธุ์
          พรรณ หมายความว่า ชนิด ใช้กับคำว่าพืช เป็น พืชพรรณ เพราะไม่ปรากฏเป็นวงศ์ญาติ เช่น พรรณข้าว พรรณปลา
           พันธุ์ หมายความว่า เผ่าพงศ์ ใช้กับคำว่า เผ่า เป็นเผ่าพันธุ์ กับคำว่า พงศ์ เป็นพงศ์พันธุ์
           มีที่สังเกตว่า ถ้าใช้กับคนเป็น เผ่าพันธุ์ พงศ์พันธุ์ ใช้กับสัตว์หรือต้นไม้เป็นพรรณ พืชพรรณ
           ทีนี้ในคนนั้นเอง ถ้าไม่ได้หมายความทางเผ่าพงศ์ แต่หมายความทางพืชพรรณ เช่นพูดว่ามนุษย์สืบพืชพรรณของมนุษย์ ดังนี้แล้ว ก็ใช้เป็นพรรณ ได้
           ต่อมาที่ประชุมได้หยิบยกเรื่อง พรรณ พันธุ์ ขึ้นพิจารณาอีกและกรรมการแต่ละท่านได้แสดงความเห็นดังต่อไปนี้:-
           กรรมการผู้หนึ่งแสดงความเห็นว่า อันที่จริงคำซึ่งแปลว่า เผ่าพันธุ์นั้น ข้าพเจ้าเองมีความเห็นว่า เป็นคำไทยซึ่งเห็นได้ในภาษาอะหม และอันที่จริงควรจะเขียนว่า “พัน” ความหมายจึงได้ทั้งคนและสัตว์และต้นไม้ ข้าพเจ้าไม่มีพจนานุกรมอะหมอยู่ที่กระทรวง จึงไม่สามารถจะคัดข้อความมาได้ แต่ถ้าทางคณะกรรมการพลิกพจนานุกรมอะหมดูแล้ว จะเห็นว่ามีคำดั่งที่ข้าพเจ้าว่า เพราะข้าพเจ้าจำได้แน่ว่าเคยค้นพบ
           การที่ข้าพเจ้ากล่าวข้อความข้างต้นนี้ ก็มีความประสงค์เพียงเฉพาะจะแสดงให้เห็นว่า ด้วยเหตุใด คำว่า “พัน” หรือ “พันธุ์” มีนัยกว้างขวาง ใช้ได้หลายทาง ข้าพเจ้าไม่มีความประสงค์ที่จะให้แก้ตัวสะกดซึ่งนิยมใช้กันอยู่ (ส่วนเรื่องคำว่า “พันธุ์” กับ “พันธ์” –ผูกพันธ์ – นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งจะไม่พิจารณาในที่นี้)
           คำว่า “พันธุ์” กับ “พรรณ” นั้น จะเห็นความหมายได้จากตัวสะกดนั้นเอง “พันธ์” หมายความว่า ต่อเนื่องกัน เพราะฉะนั้น หมายความถึงเชื้อสายอันเนื่องจากกำเนิด เพราะฉะนั้น คำว่า “เผ่าพันธุ์” ที่เขียนว่า “พันธุ์” นั้น เป็นอันถูกต้องแล้ว ส่วน พรรณ นั้นตามศัพท์หมายถึงสีตามความหมายก็คือ ชนิด ซึ่งแต่เดิมเนื่องมาจาก สี แต่บัดนี้ อาจจะนิยมอย่างอื่นกว่าสี ก็ได้ความหมายก็คงได้แก่ชนิด นั่นเอง แต่ ชนิด ทั้งนี้มิได้หมายถึงกำเนิด
           ขอซักตัวอย่าง “พันธุ์ข้าว” และ “พรรณข้าว” พันธุ์หมายถึงพืช (seed) พันธุ์ข้าวจึงหมายถึง seed คือ พืชข้าว “พรรณข้าว” ถ้าใช้ก็หมายความถึงชนิดต่าง ๆ ของข้าว เช่น variety ของข้าวเป็นต้น แต่โดยเหตุที่คำว่า “พันธุ์” กับ “พรรณ” เสียงเดียวกัน ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า เราควรจะใช้ “พันธุ์ข้าว” เท่านั้น ถ้าจะใช้ชนิด ของข้าวโดยนัย variety แล้วควรจะใช้ “วิกัติ” เป็นอันว่าเราไม่ควรใช้ “พรรณข้าว” โดยนัยหมายความว่า seed หรือพืชของข้าว
           คำว่า “พืชพันธุ์” และ “พืชพรรณ” ถ้าจะเขียนว่า “พืชพันธุ์” แล้ว ก็มีความหมายเหมือนกัน คือ หมายถึงเชื้อสาย หรือ กำพืด แต่ถ้าใช้ว่า พืชพรรณ แล้ว หมายถึงชนิดสิ่งที่มีชีวิตเนื่องจากพืช หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง พรรณไม้
           ตามที่ได้ตกลงไว้ว่า “พรรณ” หมายความว่าชนิด “พันธุ์” หมายความว่า เผ่าพงศ์นั้น เป็นอันถูกต้องแล้ว แต่ทั้งนี้ต้องขยายความ เผ่าพงศ์ ให้กว้างออกไป ให้รวมถึงสัตว์และต้นไม้ด้วย คือตรงกับ breed หรือ seed ด้วย ตัวอย่างที่ให้ไว้ตอนท้ายว่า “มนุษย์สืบพืชพรรณของมนุษย์” นั้น อันที่จริงก็เขียนได้ทั้งสองทาง แต่มีความหมายต่าง ๆ กัน ถ้าเขียนว่า “สืบพืชพันธุ์” ก็หมายความว่า สืบเชื้อสายหรือเชื้อชาติ (race) ถ้าเขียนว่า “สืบพืชพรรณ” แล้วหมายความว่าสืบชนิด หรือ species
           ส่วนตัวอย่างที่เป็นปัญหาที่ว่า “ม้า พันธุ์ สเปนขาว คอหนา เหมือนม้าเรา มันหัดดีแท้ ๆ สืบ พืชพันธุ์ มา ๓๐๐ ปี เศษ” นั้น ไม่ขัดกับความเห็นที่ข้าพเจ้าเสนอนี้เลย คือ หมายความว่า ม้าเชื้อสายสเปน (breed) สืบพืชพันธุ์ ก็ breed เหมือนกัน เห็นว่าสะกดถูกแล้วเพราะความหมายบ่งถึงกำเนิดของม้า ไม่ใช่หมายความถึงแบ่งชนิด โดยอาศัยเกณฑ์อื่นนอกจากกำเนิด คือ หมายความว่า ไม่ใช่จำแนกสีเป็นต้น
           ตามที่ข้าพเจ้าว่ามานี้ เชื่อว่าจะเห็นความหมายแห่ง “พันธุ์” กับ “พรรณ” ต่างกันอย่างไรแล้ว แต่โดยเหตุที่เสียงเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการนิยมใช้เพื่อที่จะป้องกันมิให้เข้าใจผิด ก็ควรจะเลือกใช้ให้เหมาะสมแก่กรณีด้วย
           กรรมการอีกผู้หนึ่งแสดงความเห็นว่า พรรณ และ พันธุ์ สองศัพท์นี้ มีมูลและธาตุมาอย่างไร ขอผู้ถนัดรู้ถนัดเห็นโปรดอธิบาย ข้าพเจ้าเพียงขอเสนอเฉพาะความเข้าใจ ดั่งต่อไปนี้:-
           “พรรณ” คือ วรรณ หมายถึง ผิว สี รูป เพศ เช่น ผิวพรรณ สีสันวรรณ รูปพรรณ.
           “พันธุ์” หมายถึง เชื้อสาย เทือกเถา เหล่ากอ เช่น พงศ์พันธุ์ พืชพันธุ์ สืบพันธุ์.
           คำว่า “เพาะพันธุ์ปลา” “พันธุ์ข้าวปลูก” “ผสมพันธุ์ม้า”
           “เพาะพันธุ์ปลา” คือ เอาปลาพรรณใดพรรณหนึ่ง ผสมกันให้ได้เกิดปลาที่ดีหรือที่ต้องการ เพื่อเป็นพันธุ์ สืบเชื้อสายต่อไป
           “พันธุ์ข้าวปลูก” คือเอาข้าวพรรณใดพรรณหนึ่ง มาเพาะปลูกในตำบลต่าง ๆ เพื่อให้พืชชนิดนั้นแพร่หลาย หรือข้าวสำหรับปลูกก็เรียก
           “ผสมพันธุ์ม้า” คือ เอาม้าพรรณใดพรรณหนึ่ง มาผสมกันให้เกิดลูกเป็นม้าอย่างดีหรืออย่างที่ต้องการ เพื่อเป็นพันธุ์ต่อไป
           แต่ยังไม่เข้าใจว่า ส่วนแก่ปลา ไยจึ่งใช้คำ “เพาะ” ส่วนแก่ ม้า ไยจึ่งใช้คำ “ผสม”
           น่าจะเป็นว่า ส่วนแก่ปลานั้น เพราะเหตุปลารัดกันเองโดยลำพังได้ คนไม่ต้องช่วยเหมือนเอาเมล็ดข้าวไปกล้าไว้ ก็งอกขึ้นเอง จึ่งเรียกว่าเพาะ ส่วนแก่ม้า นั้น คนมีส่วนช่วยจับช่วยจูง จึ่งเรียกว่า “ผสม” ฉะนี้กระมัง
           ประโยคว่า :-
           ๑. ม้าพรรณนี้ ไม่มีกำลัง วิ่งไม่ทน
           ๒. ม้าพันธุ์นี้ ไม่มีกำลัง วิ่งไม่ทน
          รูปประโยคอย่างเดียวกัน แต่ความหมายต่างตามรูปศัพท์ “พรรณ” หรือ “พันธุ์”
           ความสำคัญของประโยค ๑. อยู่ที่ลักษณะสามัญ คือ รูปร่างแห่งม้า
           ความสำคัญของประโยค ๒. อยู่ที่ลักษณะพิเศษ คือ เหล่ากอแห่งม้า ลักษณะพิเศษย่อมเกิดแต่ลักษณะสามัญ หรือลักษณะพิเศษเป็นส่วนเฉพาะ ลักษณะสามัญเป็นส่วนรวม
           ตามความเห็นของข้าพเจ้า เห็นว่า “พรรณ” และ “พันธุ์” สองศัพท์นี้ มีความหมายสมบูรณ์อยู่ในตัวเองแล้ว ไม่จำเป็นต้องบัญญัติอย่างไรเพิ่มเติมลงอีก
           กรรมการผู้หนึ่งว่า คำว่า พรรณ กับ พันธุ์ ตามที่นิยามไว้ ในปทานุกรมฉบับเก่าพอชี้ทางวิธีใช้ได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องจำกัดว่าศัพท์นี้ใช้แก่มนุษย์ ศัพท์นี้ใช้แก่สัตว์
           กรรมการอีกผู้หนึ่งว่า “พรรณ ชนิด” ได้แก่ชนิดของบุคคลของสัตว์ และของพฤกษชาติทั่วไป ควรใช้ พรรณ ในเมื่ออ้างถึงชนิดของสิ่งนั้น และพรรณนี้เอง ถ้าพูดถึงในเมื่อจะให้มันสืบกำเนิดต่อไปหรือพูดถึงว่ามันสืบมาจากพรรณไหน ในที่อ้างเช่นนั้นควรใช้ พันธุ์ คือ ต้องการให้มันเป็นเชื้อ หรือเชื้อของมัน แต่ความหมายในชั้นมนุษย์เฉพาะภาษาไทย เมื่ออ้างถึงคำนี้มักหนักไปทาง พันธุ์ ไม่ใช่ พรรณ
           กรรมการผู้หนึ่งว่า “พันธุ์” ในบาลีมีที่ใช้เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับคน เช่น ญาติพนฺธุ โคตฺตพันฺธุ มิตฺตพนฺธุ สิปฺปพนฺธุ ไม่ใช่กับสัตว์และต้นไม้ ทั้งนี้ด้วยความเอื้อเฟื้ออธิบายของกรรมการผู้หนึ่ง
           พันธุ์ ในไทย แต่เดิมมาก็คงใช้เฉพาะที่เกี่ยวกับคน ดังปรากฏในตำราไวพจน์ประพันธ์ของเก่ามีว่า “พวกพ้องเผ่าพันธุ์พงศ์นาม มคธสยาม มาข้องระคนปนคำ ฯ พันธุ์พวกพ้องควรสำ เหนียก ธุประจำ การันต์ต้องเสริม เติมปลาย ฯ”
           บัดนี้ เห็นใช้กับสัตว์และต้นไม้ก็มี ขอซักตัวอย่าง เช่น ม้า โค และสุนัขเป็นต้น ถ้ามีรูปพรรณต้องด้วยลักษณะนิยมแล้ว มักสอบสวนพิจารณาย้อนหลังไปถึงพ่อม้าและแม่ม้านั้นด้วยให้รู้ว่าสืบพืชพันธุ์มาด้วยลักษณะอย่างไร เคยเห็นพันธุ์สุนัขที่ต้องด้วยลักษณะนิยม ซื้อขายกันด้วยราคาสูง ผู้ขายมีทะเบียนให้ดู ทำคล้ายบัญชีเครือญาติแสดงว่าสืบกำเนิดมาแต่พันธุ์ที่ดีอย่างไร
           โดยอาการอย่างเดียวกันกับที่กล่าวมานี้ พันธุ์ ใช้กับพรรณไม้และเมล็ดข้าวก็ได้ เช่นสักทองป่าแม่แจ่มเป็นพันธุ์ไม้ที่ดีมีค่าสูง หรืออีกนัยหนึ่งข้าวปิ่นทองนครชัยศรีเป็นนิยมว่าดีเยี่ยมเอาเมล็ดไปปลูกในพื้นที่ที่ผิดแปลกดินฟ้าอากาศ ไม่สืบพันธุ์ดีงามเหมือนพันธุ์เมล็ดที่เอาไปปลูก
           พรรณ หมายถึงสี ซึ่งอาจจัดสรรเป็นชนิดต่าง ๆ กัน ไม่หมายถึงการสืบเนื่องซึ่งกันและกัน ใช้ได้ทั่วไปในกรณีที่เกี่ยวกับคนสัตว์และต้นไม้
           พันธุ์ พรรณ มีความต่างกัน จะใช้อย่างไรต้องแล้วแต่ความหมาย ในกรณีที่ใช้เมื่อพิจารณาดังกล่าวมานี้รู้สึกว่าข้อสังเกตที่ลงไว้ในรายงานเดิมต้องยกเสีย หรือมิฉะนั้นก็ขยายความเพิ่มเติม
           กรรมการอีกผู้หนึ่งว่า ตามที่ตกลงกันไว้แต่เดิมนั้น ชอบแล้ว เห็นยังขาดอีกนิดเดียว ตรงที่ว่า ในคนนั้นเอง ถ้าหมายความทางพืชพรรณก็ใช้เป็นพรรณ ได้ ดังนี้ ตามที่เราพูดกันอยู่เสมอ ความที่เราจะใช้ พรรณ กับคน ไม่จำเพาะแต่หมายความทางพืชพรรณ แม้ถึงหมายทางชนิดเราก็พูดว่า พรรณเหมือนกัน เช่น พูดกันว่า “คนพรรณนี้ ก็มีด้วย” ดังนี้เป็นต้น จึ่งเห็นควรจะแก้ความตอนนี้ให้ใช้ได้ตลอดไป ดังนี้ ว่าถ้าไม่ได้หมายความทางเผ่าพงศ์ แต่หมายความทางชนิด เช่น พูดว่ามนุษย์สืบพืชพรรณของมนุษย์ ดังนี้แล้วก็ใช้เป็นพรรณได้ นี้เฉพาะคน ส่วนที่เป็นสัตว์หรือต้นไม้ไม่มีทางจะใช้พันธุ์เลย
           กรรมการผู้หนึ่งว่า ไม่ว่ามนุษย์ไม่ว่าสัตว์ตลอดจนสิ่งที่มีชีวิตอื่น เช่น ต้นหมากรากไม้ บรรดาที่สังวาสกันเกิดลูกหลานออกมา ลูกหลานนั้นเรียกว่า “พันธุ์” ทั้งนั้น
           กรรมการอีกผู้หนึ่งว่า คำว่า “พันธุ์” นี้เมื่อพูดตามหลักเดิมที่ใช้แล้ว ใช้สำหรับคนอย่างเดียว เช่น ญาติพนฺธุ โคตฺตพนฺธุ มิตฺตพนฺธุ สิปฺปพนฺธุ สัตว์ก็ดี สิ่งของก็ดี ไม่ใช้ว่าพันธุ์ เลย แต่เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยจะนำมาใช้แต่ศัพท์ ส่วนความหมายเดิมจะไม่นำมาใช้ด้วยหรืออย่างไรแล้วแต่จะบัญญัติกัน จะอย่างไรก็ตามขออย่าให้ลำบากเมื่อใช้ เช่นว่าประกวดพรรณม้าหลายชนิด เราไม่รู้จะแยกเขียนอย่างไร
           กรรมการผู้หนึ่ง รับรองและเสนอต่อไปว่า ภาษาไทยไม่ได้เอาศัพท์เดิมมาใช้แต่ศัพท์ รักษาอรรถเดิมด้วย คน ใช้ได้ทั้งสองอย่างคือ พรรณกับพันธุ์ ส่วนสัตว์ ใช้พรรณ อย่างเดียวพอแล้ว ชาติก็คือชนิด สืบพรรณก็คือสืบชนิดนั่นเอง
           เจ้าหน้าที่เสนอว่า คำว่า พันธุ์ ในคำว่า อวัยวะสืบพันธุ์ จะเขียนอย่างไรดี
           กรรมการผู้หนึ่งเสนอว่า ควรเขียน พันธุ์ เพราะอวัยวะนั้นเป็นเครื่องสืบเผ่าพันธุ์
           กรรมการอีกผู้หนึ่ง ยังคงเห็นว่าใช้ พรรณ ดีกว่า เพราะในที่นั้นไม่ต้องไปเล็งความถึงเผ่าพันธุ์ หมายความถึงชนิดเท่านั้น เพราะใช้คำ สืบอยู่แล้ว
           กรรมการผู้หนึ่งว่า พันธุ์ หมายความเป็นญาติ ถ้าเขียนเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ ก็หมายว่าอวัยวะสืบญาติ ก็ไม่ได้เรื่องราวอันใด ถ้าใช้เป็นอวัยวะสืบพรรณ ก็หมายความว่าอวัยวะสืบชนิดยังจะได้ความบ้างว่าสืบชนิดของเดิม
           ที่ประชุมได้ปรึกษาหาหลักฐานเกี่ยวด้วยเรื่องนี้พอสมควรแล้ว ในที่สุดลงมติว่าพันธุ์ใช้ในที่ซึ่งเป็นพืชได้ ส่วน พรรณ ใช้ในที่ซึ่งเป็นชนิดอย่างเดียว.
ที่มา : จากหนังสือความรู้ทางอักษรศาสตร์
เวป ราชบัณฑิตยสถาน

คำที่มักเขียนผิด ส สาปสรร ต้องเขียนแบบนี้เท่านั้น

สาปสรร

ก. แช่งให้เป็นไปต่างๆ


ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร


คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ
สะกัด    สกัด   
สะกาว    สกาว   
สะดับ    สดับ   
สถานการ, สถานะการณ์    สถานการณ์   
สรรค์หา    สรรหา    สรรค์ หมายถึง สร้าง, ทำให้เกิดขึ้น
สรรค์แสร้ง    สรรแสร้ง   
สดวก    สะดวก   
สพาน    สะพาน   
สะบาย    สบาย   
สะบู่    สบู่   
สะไบ, ไสบ    สไบ   
สะบง    สบง   
สมดุลย์    สมดุล   
สถิตย์    สถิต   
สิงห์โต    สิงโต    หรือใช้เพียงคำว่า สิงห์
สัปรด, สัปปะรด, สับปะรส    สับปะรด    มิได้แผลงมาจาก สรรพรส
สัมนา, สำมะนา    สัมมนา   
สอาด    สะอาด   
สังเกตุ    สังเกต   
สังวรณ์    สังวร   
สังวาลย์    สังวาล    ยกเว้นชื่อเฉพาะ "สังวาลย์"
สังสรร    สังสรรค์   
สัญโดษ    สันโดษ   
สร้างสรร    สร้างสรรค์   
สอบเชาว์    สอบเชาวน์   
สัพเหร่อ, สัปปะเหร่อ    สัปเหร่อ   
สาบาญ    สาบาน   
สาธร    สาทร    ชื่อถนนสายหนึ่ง และเขตการปกครองในกรุงเทพมหานคร
สาระพี, สารพี    สารภี    ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ดอกสีขาวกลิ่นหอม, มิได้หมายถึง เครื่องครัว
สรรพยอก    สัพยอก   
สัญลักษ์    สัญลักษณ์   
สกิด    สะกิด   
สกด    สะกด   
สคราญ    สะคราญ   
สะพึงกลัว    สะพรึงกลัว   
สักการะบูชา    สักการบูชา    คำสมาส
สายสิญจ์    สายสิญจน์   
สรรเพชร    สรรเพชญ   
สัปลับ    สับปลับ   
สัมภาษ, สัมพาส    สัมภาษณ์   
สาธารณะชน    สาธารณชน    คำสมาส
สาธารณะประโยชน์    สาธารณประโยชน์    คำสมาส
สาธารณะสถาน    สาธารณสถาน    คำสมาส
สาธารณะสุข    สาธารณสุข    คำสมาส
สาปสูญ    สาบสูญ   
สาบแช่ง    สาปแช่ง   
สาบสรร    สาปสรร   
สังเขบ    สังเขป   
สาระประโยชน์    สารประโยชน์    คำสมาส
สารสำคัญ    สาระสำคัญ    มิใช่คำสมาส
สารัตถะประโยชน์    สารัตถประโยชน์    คำสมาส
สารัตถสำคัญ    สารัตถะสำคัญ    มิใช่คำสมาส
สำอางค์    สำอาง   
สีสรร, สีสรรค์    สีสัน   
สะเบียง, สเบียง    เสบียง   
สูจิบัตร    สูติบัตร   
โสรส    โสฬส    อ่านว่า "โส-ลด"

คำที่มักเขียนผิด ในหมวด ส ห อ

หมวด ส ห อ



คำที่มักเขียนผิด                    คำที่เขียนถูก                   หมายเหตุ
สะกัด                                               สกัด
สะกาว                                             สกาว
สะดับ                                              สดับ
สถานการ, สถานะการณ์             สถานการณ์
สรรค์หา                                           สรรหา                สรรค์ หมายถึง สร้าง
                                                                                   ทำให้เกิดขึ้น
สรรค์แสร้ง                                     สรรแสร้ง
สดวก                                               สะดวก
สพาน                                              สะพาน
สะบาย                                             สบาย
สะบู่ สบู่
สะไบ, ไสบ                                       สไบ
สะบง                                                สบง
สมดุลย์                                           สมดุล
สถิตย์                                              สถิต
สิงห์โต                                            สิงโต                   หรือใช้เพียงคำว่า สิงห์
สัปรด, สัปปะรด, สับปะรส             สับปะรด                มิได้แผลงมาจาก สรรพรส
สัมนา, สำมะนา                             สัมมนา
สอาด                                             สะอาด
สังเกตุ                                            สังเกต
สังวรณ์                                           สังวร
สังวาลย์                                         สังวาล                 ยกเว้นชื่อเฉพาะ "สังวาลย์"
สัญโดษ                                         สันโดษ
สอบเชาว์                                     สอบเชาวน์
สัพเหร่อ, สัปปะเหร่อ                      สัปเหร่อ
สาบาญ                                          สาบาน
สรรพยอก                                      สัพยอก
สัญลักษ์                                      สัญลักษณ์
สคราญ                                         สะคราญ
สะพึงกลัว                                    สะพรึงกลัว
สักการะบูชา                                สักการบูชา                         คำสมาส
สายสิญจ์                                     สายสิญจน์
สรรเพชร                                      สรรเพชญ
สัปลับ                                           สับปลับ
สัมภาษ, สัมพาส                        สัมภาษณ์
สาธารณะชน                             สาธารณชน                         คำสมาส
สาธารณะประโยชน์                สาธารณประโยชน์                  คำสมาส
สาธารณะสถาน                        สาธารณสถาน                      คำสมาส
สาธารณะสุข                              สาธารณสุข                        คำสมาส
สาปสูญ                                         สาบสูญ
สาบแช่ง                                       สาปแช่ง
สาบสรร                                        สาปสรร
สังเขบ                                          สังเขป
สารสำคัญ                                  สาระสำคัญ                      มิใช่คำสมาส
สารัตถะประโยชน์                     สารัตถประโยชน์                   คำสมาส
สำอางค์                                         สำอาง
สีสรร, สีสรรค์                                  สีสัน
สะเบียง, สเบียง                              เสบียง
สูจิบัตร                                          สูติบัตร
โสรส                                              โสฬส                          อ่านว่า "โส-ลด"



คำที่มักเขียนผิด                  คำที่เขียนถูก                      หมายเหตุ
หกคเมน, หกคะเมร                    หกคะเมน
หงษ์                                              หงส์
หนอยแน่                                   หน็อยแน่
หน้าปัทม์นาฬิกา                    หน้าปัดนาฬิกา
หมาไน                                        หมาใน
หมาหมุ้ย หมามุ่ย,                       หมามุ้ย
หยากใย่, หยักไย่, อยากไย่         หยากไย่
อย่าร้าง                                      หย่าร้าง
หยิบย่ง, หยิบโย่ง                       หยิบหย่ง
ห่วงไย                                         ห่วงใย                           คำที่ใช้ไม้ม้วน
หัวมงกุฎท้ายมังกร                 หัวมังกุท้ายมังกร                (สำนวน)ไม่เข้ากัน
                                                                        ไม่กลมกลืนกัน
เหม็นสาป                                  เหม็นสาบ
เหล็กใน                       เหล็กไน   มิได้หมายความว่หล็กอยู่ข้างใน
แหลกราญ                                 แหลกลาญ
โหยหวล                                     โหยหวน
โหรพา, โหระภา                         โหระพา
มั๊ย, ไม๊                                       ไหม   แผลงมาจาก "หรือไม่"
                                                (อาจอนุโลมใช้ มั้ย ตามเสียงพูด)
ใหหลำ                                        ไหหลำ



คำที่มักเขียนผิด                  คำที่เขียนถูก                     หมายเหตุ
องคชาติ                                    องคชาต
อนาธร                                        อนาทร
อนุกาชาติ                                 อนุกาชาด
อนุญาติ                                       อนุญาต                    ญาติ เขียนมีสระ อิ
อนุเสาวรีย์, อณุสาวรีย์               อนุสาวรีย์
เอนก                                            อเนก                        เช่น อเนกประสงค์
อเนถอนาถ                               อเนจอนาถ
อภิรมณ์                                      อภิรมย์
อภิเสก                                        อภิเษก
อัมรินทร์                                     อมรินทร์              ยกเว้นชื่อเฉพาะ"อัมรินทร์"
อะหลักอะเหลื่อ                         อลักเอลื่อ
อวสาณ, อวสานต์                      อวสาน
อะหิวาตกโรค                          อหิวาตกโรค
ออฟฟิส, ออฟฟิต, อ็อฟฟิศ       ออฟฟิศ
อะหลั่ย                                       อะไหล่
อัญชัญ                                       อัญชัน
อัธจันทร์                                  อัฒจันทร์
อัตคัต                                         อัตคัด
อัทยาศัย, อัธยาษัย                   อัธยาศัย
อัมพาส                                     อัมพาต
อากาส                                      อากาศ
อาฆาตมาตร้าย                   อาฆาตมาดร้าย
อาเจียร                                     อาเจียน
อานิสงฆ์                                  อานิสงส์
อาเพส, อาเภส                         อาเพศ
อารมย์                                     อารมณ์
อาวร                                        อาวรณ์
อาสสงฆ์                               อาสน์สงฆ์
อำนาจบาทใหญ่               อำนาจบาตรใหญ่
อัมหิต                                     อำมหิต
อินธนู, อินทร์ธนู                    อินทรธนู
อินทรีวัตถุ, อินทรีย์วัตถุ       อินทรียวัตถุ
อิริยาบท                                อิริยาบถ
อิสระเสรี                               อิสรเสรี                     คำสมาส
อิสระภาพ                             อิสรภาพ                    คำสมาส
อิสาน                                    อีสาน
อุดมการ                             อุดมการณ์