บริบทของความสงสัยของการออกเสียง ฬ คือว่า เสาร์ที่แล้ววันที่ 26 พค 61 จากการที่ผมชอบร้องเพลงของสุนทราภรณ์ และเป็นสมาชิก ชมรมรักสุนทราภรณ์เชียงใหม่ ขอเรียกสั้นๆ ว่า ชรส ชมครับ แล้วมีเพลงชื่อ จุฬาตรีคูณ ซึ่งพี่แจ๋วจะไปร้องเพลงที่คุ้มบุรีรัตน์ ในการกิจกรรมสัญจรประจำเดือนของ ชรส ชม จึงมีการเสวนากันว่า ฬ จุฬา ควรออกเสียงควบกล้ำเป็น ล ลิง หรือ ร เรือ ซึ่งมีฝ่ายสนับสนุนทั้ง 2 ฝ่าย จึงจะต้องมีการหาข้อมูลกัน เหตุที่คนไทยอาจจะไม่รู้ เพราะ คนไทยส่วนมาก โดยเฉพาะผม ตอนเรียนภาษาไทย ถือว่าเป็นวิชาที่น่าเบื่อ เนื่องจากกฏเกณฑ์เยอะ ละเอียดมาก แต่ตอนนี้พอมาร้องเพลง ซึ่งมีศัพท์ในเนื้อร้องที่ต้องออกเสียงให้ถูกต้อง โดยเฉพาะการร้องเพลงสุนทราภรณ์ จะถือว่า It's a Must ที่จะออกเสียง อักขระให้ชัดเจน ทุกคำอ่านต้องชัด โดยเฉพาะ ร เรือ ล ลิง ซึ่งทายาทครูเอื้อ คุณอติพร สุนทรสนาน ได้ย้ำเป็นคำตายแก่บรรดานักร้องคลื่นลูกใหม่ แล้วเราก็คือ ชมรมรักสุนทราภรณ์ จึงต้องสืบสารปณิธานนี้อย่างเคร่งครัด
สรุป จุฬาตรีคูณ ออกเสียงว่า จุ - ลา - ตรี - คูณ น่ะจ้ะ จะบอกให้ ดูคำอธิบาย และ ยืนยันดังต่อไปนี้....อ่านประวัติเพลง จุฬาตรีคูณ
ฬ (จุฬา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 42 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ห (หีบ) และก่อนหน้า อ (อ่าง) ออกเสียงอย่าง ล (ลิง) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า "ฬ จุฬา"
อักษร ฬ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /l/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /n/
ปัจจุบัน ฬ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ มีเพียงใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีเท่านั้น (ซึ่งจะปรากฏกลางคำหรือท้ายคำ เช่น กีฬา นาฬิกา กาฬ วาฬ) คำโบราณที่เคยใช้ ฬ ก็เปลี่ยนไปใช้ ล แทนเช่น
เรื่อง ตัว ฬ ไม่มีในภาษาสันสกฤต มีเกร็ดจากผู้รู้จะเล่าให้ฟัง
ภาษาสันสกฤต ไม่มี "ฬ"? โดย คุณธวัชชัย ดุลยสุจริต
เปิด ฤคเวท เล่มแรก ก็เจอแล้ว... หน้าแรก เลย บรรทัดแรกด้วย
"อคฺนิมีเฬ ปุโรหิตํ ยชฺญสฺย เทวมฺฤตฺวิชมฺ ฯ" (ฤคเวท, ๑.๑.๑)
แยกออกมา จะได้เห็นชัด ๆ "อคฺนิมฺ อีเฬ" แปลว่า ข้าสรรเสริญพระอัคนิ
คำว่า อีเฬ นี้ ท่านว่า รากศัพท์ ก็คือ อีฑฺ เมื่อเติมเสียง เอ (เพื่อแสดงปัจจุบันกาล เอกพจน์ บุรุษที่ ๑) ก็จะกลายเป็น อีเฑ, แต่ เมื่อ ฑ อยู่ระหว่างสระ จะกลายเป็น ฬ ไป คำนี้จึงเป็น อีเฬ นั่นเอง...
"ฬ" ในฤคเวทคงไม่ได้มีแค่นี้ ส่วนตัว "ฬฺห" ผมยังหาไม่เจอ อิอิ (ฤคเวทมีอยู่ ๑๐ เล่ม ฬฺห อาจจะอยู่ท้าย ๆ เล่มที่ ๑๐ ก็ได้)
ถามว่า ฬ ออกเสียงอย่างไร?
ตอบ นักภาษาสันสกฤตไม่ได้ฟันธงชัดเจน ว่า ฬ ในสมัยโบราณนั้นออกเสียงอย่างไร แต่สันนิษฐานว่า น่าจะออกเสียงตามฐานของวรรค ฏ (ไม่ทราบจะอธิบายอย่างไร เอาเป็นว่า เวลาออกเสียงให้กำหนดเสียงคล้าย ล แต่ตำแหน่งปลายลิ้นอยู่กลางๆ เพดาน) ท่านหนึ่งว่าออกเสียง อย่าง ll ในคำว่า hallow
ตำรามักกล่าวว่า เสียง ฬ หายไปในภาษาสันสกฤตสมัยหลัง แต่ตัวหนังสือที่ใช้แทน เสียง ฬ เดิมนั้น มีมาถึงสมัยหลัง แต่เสียงเปลี่ยนไป ในภาษาฮินดี ฬ ออกเสียงเป็น ล ธรรมดา (อักษรขอม อักษรไทย ก็มี ฬ แต่ออกเสียงเหมือน ล, ในภาษาบาลี ฬ ก็ออกเสียงเหมือน ล เช่นกัน)
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในภาษาบาลีมีทั้ง ฑ และ ฬ, ขณะที่ ภาษาสันสกฤตสมัยหลัง ไม่มี ฬ ให้เห็น แต่คำที่ภาษาบาลีใช้ ฬ มักตรงกับคำภาษาสันสกฤตที่ใช้ ฑ เช่น จักรวาฬ ในภาษาบาลี ตรงกับ จักรวาฑ ในภาษาสันสกฤต (แม้ว่าในกรณีนี้เสียง ฑ จะอยู่ระหว่างสระ ก็ไม่เปลี่ยนเป็น ฬ)
สรุปตรงนี้ว่า พยัญชนะสันสกฤตจะนับว่ามีกี่ตัว ก็อยู่ที่ว่า ท่านจะนับ ฬ หรือไม่ ถ้าไม่นับ ก็มี ๓๓ ตัว ถ้านับ ก็มี ๓๔ ตัว และตัว ฬ นี้ มีปรากฏเฉพาะในวรรณคดีพระเวทเท่านั้น (ซึ่งก็เป็นภาษาสันสกฤตยุคหนึ่ง แม้จะแตกต่างจากการใช้ภาษาสันสกฤตสมัยหลัง แต่ก็ไม่สามารถแยกเด็ดขาดจากกัน)...จาก เพ็ญชมพู reumthai.com
ภาษาสันสกฤต ไม่มี "ฬ"? โดย คุณธวัชชัย ดุลยสุจริต
เปิด ฤคเวท เล่มแรก ก็เจอแล้ว... หน้าแรก เลย บรรทัดแรกด้วย
"อคฺนิมีเฬ ปุโรหิตํ ยชฺญสฺย เทวมฺฤตฺวิชมฺ ฯ" (ฤคเวท, ๑.๑.๑)
แยกออกมา จะได้เห็นชัด ๆ "อคฺนิมฺ อีเฬ" แปลว่า ข้าสรรเสริญพระอัคนิ
คำว่า อีเฬ นี้ ท่านว่า รากศัพท์ ก็คือ อีฑฺ เมื่อเติมเสียง เอ (เพื่อแสดงปัจจุบันกาล เอกพจน์ บุรุษที่ ๑) ก็จะกลายเป็น อีเฑ, แต่ เมื่อ ฑ อยู่ระหว่างสระ จะกลายเป็น ฬ ไป คำนี้จึงเป็น อีเฬ นั่นเอง...
"ฬ" ในฤคเวทคงไม่ได้มีแค่นี้ ส่วนตัว "ฬฺห" ผมยังหาไม่เจอ อิอิ (ฤคเวทมีอยู่ ๑๐ เล่ม ฬฺห อาจจะอยู่ท้าย ๆ เล่มที่ ๑๐ ก็ได้)
ถามว่า ฬ ออกเสียงอย่างไร?
ตอบ นักภาษาสันสกฤตไม่ได้ฟันธงชัดเจน ว่า ฬ ในสมัยโบราณนั้นออกเสียงอย่างไร แต่สันนิษฐานว่า น่าจะออกเสียงตามฐานของวรรค ฏ (ไม่ทราบจะอธิบายอย่างไร เอาเป็นว่า เวลาออกเสียงให้กำหนดเสียงคล้าย ล แต่ตำแหน่งปลายลิ้นอยู่กลางๆ เพดาน) ท่านหนึ่งว่าออกเสียง อย่าง ll ในคำว่า hallow
ตำรามักกล่าวว่า เสียง ฬ หายไปในภาษาสันสกฤตสมัยหลัง แต่ตัวหนังสือที่ใช้แทน เสียง ฬ เดิมนั้น มีมาถึงสมัยหลัง แต่เสียงเปลี่ยนไป ในภาษาฮินดี ฬ ออกเสียงเป็น ล ธรรมดา (อักษรขอม อักษรไทย ก็มี ฬ แต่ออกเสียงเหมือน ล, ในภาษาบาลี ฬ ก็ออกเสียงเหมือน ล เช่นกัน)
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในภาษาบาลีมีทั้ง ฑ และ ฬ, ขณะที่ ภาษาสันสกฤตสมัยหลัง ไม่มี ฬ ให้เห็น แต่คำที่ภาษาบาลีใช้ ฬ มักตรงกับคำภาษาสันสกฤตที่ใช้ ฑ เช่น จักรวาฬ ในภาษาบาลี ตรงกับ จักรวาฑ ในภาษาสันสกฤต (แม้ว่าในกรณีนี้เสียง ฑ จะอยู่ระหว่างสระ ก็ไม่เปลี่ยนเป็น ฬ)
สรุปตรงนี้ว่า พยัญชนะสันสกฤตจะนับว่ามีกี่ตัว ก็อยู่ที่ว่า ท่านจะนับ ฬ หรือไม่ ถ้าไม่นับ ก็มี ๓๓ ตัว ถ้านับ ก็มี ๓๔ ตัว และตัว ฬ นี้ มีปรากฏเฉพาะในวรรณคดีพระเวทเท่านั้น (ซึ่งก็เป็นภาษาสันสกฤตยุคหนึ่ง แม้จะแตกต่างจากการใช้ภาษาสันสกฤตสมัยหลัง แต่ก็ไม่สามารถแยกเด็ดขาดจากกัน)...จาก เพ็ญชมพู reumthai.com
กเฬวราก
กเฬวราก (อ่านว่า กะ -เล-วะ -ราก) มาจากภาษาบาลีว่า กเฬวร (อ่านว่า กะ -เล-วะ-ระ) แปลว่า ร่าง ร่างไร้วิญญาณ ซากศพ. ในภาษาไทย กเฬวระ (อ่านว่า กะ -เล-วะ -ระ) แปลว่า ซากศพ. คำว่า กเฬวระ ซึ่งตรงกับภาษาบาลี ไม่พบในภาษาปัจจุบัน พบแต่ในวรรณคดีและเอกสารโบราณ มักใช้เป็นคำซ้อนว่า กเฬวระร่างร้าย หรือ กเฬวระซากศพ สันนิษฐานว่า คำว่า กเฬวระซากศพ เป็นที่มาของคำว่า กเฬวรากซากศพ ซึ่งต่อมาตัดคำว่า ซากศพ ออก จึงกลายเป็นคำว่า กเฬวราก (อ่านว่า กะ-เล-วะ-ราก)
คำว่า กเฬวราก หมายถึง คนไร้ประโยชน์ คนชั่ว คนเลว คนที่ชั่วและเลวจนคนทั่วไปรู้สึกรังเกียจและขยะแขยงเหมือนที่ขยะแขยงซากศพ เช่นตำรวจควรลากคอพวกกเฬวรากที่ปลุกปั่นให้คนไทยเกลียดชังกันไปเข้าคุกเข้าตะรางให้หมด. สังคมจะน่าอยู่ขึ้นมาก ถ้ากเฬวรากพวกนี้หมดสิ้นไป.
ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
กักขฬะ
คำว่า กักขฬะ (อ่านว่า กัก-ขะ -หฺละ) คำนี้ยืมมาจากภาษาบาลีว่า กกฺขฬ (กัก-ขะ -ละ) แปลว่า หยาบ แข็ง กระด้าง มักใช้บรรยายลักษณะพื้นผิวของสิ่งของซึ่งมีลักษณะไม่เรียบ ไม่อ่อนนุ่ม
ในภาษาไทย กักขฬะ มีความหมายเชิงเปรียบเทียบ หมายถึง หยาบคายหรือหยาบกระด้างเป็นอย่างมาก มักใช้เป็นคำบรรยายลักษณะการพูดหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น ผู้ชายคนนี้เรียนจบถึงปริญญาเอก แต่พูดจากักขฬะ . นักการเมืองคนนั้นเป็นคนกักขฬะ พูดออกมาแต่ละคำมีแต่คำสบถ พฤติกรรมก็หยาบคายน่ารังเกียจอย่างที่สุด ประชาชนไม่ควรเลือกเข้าสภาอีก.
คำว่า กักขฬะ ออกเสียงเป็น ๓ พยางค์ว่า กัก-ขะ -หฺละ
ที่มา : บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น